วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 3

แบบฝึกหัดที่  1

คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ  มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในสังคมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้งมีการทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายสาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจมีการแก่งแย่งการแก้แค้นซึ่งกันและกันจึงทำให้มนุษย์สร้างกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนขึ้นระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นเกณฑ์เกณฑ์สร้างความสัมพันธ์และควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมจึงอาจกล่าวได้ว่าศีลธรรมจารีตประเพณีศาสนาและกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์สอดคล้องกับคากล่าวที่ว่าที่ใดมีสังคมที่นั้นมีกฎหมาย

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ  ไม่ได้ เพราะ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะในลักษณะที่ถาวรก็จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่ถือปฏิบัติกันในสังคมนั้นๆเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างปกติสุข กฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้  มีทั้งกฎเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต่างก็มีลักษณะบังคับให้คนในสังคมนั้นๆ ต้องปฏิบัติตาม  ในสังคมระยะแรกเริ่มนั้น กฎเกณฑ์ที่มีอยู่ไม่สลับซับซ้อนดังเช่นสังคมปัจจุบัน การควบคุมความประพฤติของคนในสังคมจะอาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไป เป็นกฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุผลธรรมดาตามสามัญสำนึกของชาวบ้าน เป็นมีคำกล่าวภาษาลาตินบทหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้ ซึ่งมีความหมายว่า "ที่ไหนมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย" ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ กฎหมายก็คือกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมและจารีตประเพณีของชุมชนนั้นๆ ต่อมาเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป จารีตประเพณีเดิม ย่อมไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน จึงจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรออกมาเพื่อแก้ปัญหาเป็นเรื่องๆ ไป  มีการใช้เหตุผลชั่งตรองเพื่อชี้ขาดข้อพิพาท เกิดเป็นหลักกฎหมายต่างๆ  มีกระบวนการบัญญัติกฎหมายที่เป็นกิจจะลักษณะ ฉะนั้น กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในสังคมสมัยใหม่ จึงมีทั้งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ปรากฏอยู่ในรูปของจารีตประเพณี

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
    ตอบ   ก. ความหมาย
คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตยจากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
              ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                  1. เป็นคาสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่นรัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี
                  2. มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คาวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ
                  3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                  4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญา
              ค. ที่มาของกฎหมาย
                  1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
                  2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมา
                  3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
                  4. คาพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคาพิพากษา ซึ่งคาพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดี
                  5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่
              ง. ประเภทของกฎหมาย
                  กฎหมายภายใน
       1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
           1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
           1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี
      2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
      3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสารบัญญัติ
      4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
          4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                        4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
           กฎหมายภายนอก
     1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
     2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
     3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

4.  ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ   กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิและกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น ดังนั้นทุกประเทศจึงต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นบทบังคับคนในประเทศนั้นๆให้มีความสงบเรียบร้อย

5.  สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ    กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมายถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6.  สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   สภาพบังคับในคดีอาญา
  คือ โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฏีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฏี คือ ทฤษฏีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฏีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเค้าสู่สังคมอย่างเดิม
           สภาพบังคับในคดีแพ่ง
   ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก   กักขัง  ปรับ  และ ริบทรัพย์สิน.

7.  ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   ระบบกฎหมายมี  2  ระบบ
            1.   ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้
            2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8.  ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ   แบ่งโดยแหล่งกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. กฎหมายภายใน
    1.1 แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
    1.2 แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
    1.3 แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสารบัญญัติ
    1.4 แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2.  กฎหมายภายนอก
    2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
    2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ   เป็นการจัดลาดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกันจากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลาดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลาดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

10.  เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ   การกระทำของรัฐบาลเป็นการกระทำที่ไม่สมควรเป็นอย่างมาก เพราะประชนทุกคน
เป็นคนไทยในชาติและทุกคนออกมาเพื่อปกป้องสิทธิของตนและปกป้องประเทศชาติ 
ซึ่งประชาชนทุกคนมีสิทธิเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยให้กับประเทศชาติ
เมื่อเห็นการปกครองประเทศเป็นไปอย่าไม่ถูกต้องและต้องการเอาอำนาจ
และสิทธิของตนกลับคืนมาโดยเป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คาว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   เป็นบทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคาสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การจัดการศึกษามีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับภาวะบ้านเมืองปัจจุบัน จึงได้นาบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้กำหนดให้ มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และทำให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ดังนั้นครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้นเพื่อนาไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ   การที่เราได้เรียนรู้วิชากฎหมายสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบวิชาต่างๆเมื่อเรารู้กฎหมายหมายเราสามารถรู้อำนาจขอบเขตและสิทธิของเราในการประกอบวิชาชีพเพื่อไม่ให้คนอื่นมาเอารัดเอาเปรียบเราได้และนำไปแนะนำอบรมสั่งสอนนักเรียนได้ไม่มากก็น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น