วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 7

1. ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  แล้วตอบคำถาม
                                           
1. พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
ตอบ  พรบ.สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2546 และบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
ตอบ  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู  บุคลากรทางการศึกษาอื่น

3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
ตอบ  คุรุสภามีจุดประสงค์หลัก 3 ข้อ คือ
1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพออกเเละเพิกถอนวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตราวิชาชีพเเละจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู
2. กำหนดนโยบายเเละการพัฒนาวิชาชีพ
3. ประสานเเละส่งเสริมการศึกษาเเละการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ

4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
ตอบ  คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ 15 ข้อ คือ
1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพเเละจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. ควบคุมความประพฤติเเละการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
3. ออกใบอนุญาติให้เเก่ผู้ที่ขอใบประกอบวิชาชีพ
4. พักใช้หรือเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ
5. สนับสนุน ส่งเสริมเเละพัฒนาวิชาชีพตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
6. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่องเเละผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ
7. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร ตามมาตรฐานวิชาชีพ
8. รับรองความรู้ เเละประสบการณทางวิชาชีพ
9. ส่งเสริมการศึกษาเเละการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
10. เป็นตัวเเทนวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
11. ออกข้อบังคับคุรุสภา
12. ให้ข้อเสนอเเนะ เเละคำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรี
13. ให้คำเเนะนำหรือเสนอข้อคิดเห็นเเก่รัฐมนตรี
14. กำหนดให้คณะกรรมการอยู่ในอำนาจคุรุสภา
15. ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา

5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
ตอบ       1. ค่าธรรมเนียมพระราชบัญญํติ
2. เงินอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน
3. ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สิน
4. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ให้เเก่คุรุสภา
5. ดอกผลที่ได้จากข้อข้างต้นดังกล่าว

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
ตอบ  คณะกรรมการคุรุสภามีทั้งหมด 39 คน ประธานมาจาก ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย

7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
ตอบ  ต้องมีใบประกอบวิชาชีพเเละไม่เคยถูกพักการใช้หรือปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปีหรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 หรือมีตำเเหน่งวิทยฐานะชำนาญการขึ้นไป

8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
ตอบ  บริหารเเละดำเนินการตามวัตถุประสงค์เเละอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา ให้คำปรึกษาเเนะนำ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการตามมาตรา 54 ควบคุม ดูเเล การดำเนินงานเเละการบริหารทั่วไปตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือข้อกำหนด

9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
ตอบ  มีทั้งหมด 17 คน ประธานกรรมการคือคณะรัฐมนตรีเเต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีหน้าที่พิจารณาการออกใบประกอบวิชาชีพ การพักใช้เเละการเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ
10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
ตอบ  ผู้ี่เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์เเละไม่เกิน 65 ปี

11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  ผู้ที่ไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เช่น วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือกว่าเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารทั้งระดับปริญญาทั้งรัฐเเละเอกชน

12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
ตอบ   ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
คุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ , มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง , ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ลักษณะต้องห้าม  เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี , เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ , เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
ตอบ  หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องยื่นอุทธรณ์เเก่คณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับเเต่วันที่ได้รับเเจ้งหรือไม่ยื่นหรือต่อใบอนุญาต

14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
ตอบ  มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานความรู้เเละประสบการณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน

15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
ตอบ     1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
5. จรรยาบรรณต่อสังคม

16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
ตอบ     1.  ยกข้อกล่าวหา
2.  ตักเตือน
3.  ภาคทัณฑ์
4.  พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
5.  เพิกถอนใบอนุญาต

17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
ตอบ สมาชิกคุรุสภามี 2  ประเภท ประกอบด้วย สมาชิกสามัญ เเละสมาชิกกิตติมศักดิ์

18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
ตอบ สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดเมื่อ ตาย ลาออก คณะกรรมการให้พ้นจากการเป็นสมาชิก คณะกรรมการมีมิติถอดถอนสมาชิกกิตติมศักดิ์

19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
ตอบ  สกสค.ย่อมาจาก คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการเเละสวัสดิภาพครูเเละบุคลากรทางการศึกษา

20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
ตอบ  สกสค. มี 23 คน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน

21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
ตอบ  ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ตอบ  ผู้ใดถูกพักใช้หรือเเสดงตนว่ามีใบประกอบวิชาชีพเป็นเท็จมีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือไม่เกิน60,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
ตอบ  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ 2546 คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ตอบ    1. ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ 600 บาท
           2. ค่าต่อรองใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครั้งละ 200 บาท
           3. ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ 300 บาท
           4. ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ฉบับละ 400 บาท
           5. ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 200 บาท

2. ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

1. นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
ตอบ   วิชาชีพ คือ วิชา ที่ศึกษาเล่าเรียนจบแล้วมีความรู้ความชำนาญสามารถประกอบอาชีพได้ทันที, วิชาเฉพาะเพื่อ การประกอบอาชีพ

2. วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
ตอบ  วิชาชีพควบคุม คือ บุคลากรทางการศึกษาที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ซึ่งจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้เงื่อนไขของคุรุสภา

3. การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
ตอบ       1. ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่ผู้รับไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กล่าวหา หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่น มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้

4. มาตรฐาน วิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ   มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาควบคุม นั้นเนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ
          ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3ด้าน ประกอบด้วย
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน

5. ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
ตอบ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำาหนดเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์จัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ที่ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจะต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่จะสามารถประกอบวิชาชีพได้

6. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   มาตรฐานการปฏิบัติงาน เป็นการพัฒนาตนเองที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา  ส่วนมาตรฐานปฏิบัติตน เป็นการควบคุมความประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความคล้ายกัน คือ เป็นการปฏิบัติเพื่อเน้นสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับเป็นสำคัญ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น